บทความ

นกชนหิน

รูปภาพ
  นกชนหิน นกชนหิน ชื่อวิทยาศาสตร์  Rhinoplax vigil (Forster, 1781)  ถือเป็นสัตว์โบราณและเชื่อกันว่ามีความเก่าแก่ถึงขนาดเรียกได้ว่าเป็นบรรพบุรุษของนกเงือกแห่งเอเชียที่ยังคงมีชีวิตอยู่มาจนถึงปัจจุบัน โหนกบนหัวมีน้ำหนักประมาณ 11% ของน้ำหนักตัว ใช้สำหรับต่อสู้แบบเอาหัวชนกันระหว่างตัวผู้   โหนกนี้ต่างจากของนกเงือกชนิดอื่น ๆ ตรงที่มีลักษณะทึบตันแทบทั้งชิ้น ชาวปูนันเชื่อว่านกชนหินตัวใหญ่เป็นผู้พิทักษ์แม่น้ำที่แบ่งกั้นระหว่างความเป็นและความตาย อาศัยในป่าดงดิบ และกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตอนใต้ของไทย บางส่วนของพม่า เรื่อยไปจนถึงมาเลเซีย และอินโดนีเซีย ลักษณะทั่วไป             นกชนหิน ถือเป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ยาวนานถึง 45 ล้านปีมาแล้ว   มีลักษณะเด่นกว่านกเงือกชนิดอื่น ๆ ตรงที่สันบนปากมีขนาดใหญ่และหนาเนื้อในสีขาวตันคล้ายงาช้าง นกชนหินมีจะงอยปากที่ยาวและมีขนหางพิเศษคู่หนึ่ง ซึ่งจะงอกยาวเลยขนหางเส้นอื่น ๆ ออกไปมากถึง 50  เซนติเมตร   แลเห็นเด่นชัด นกตัวผู้มีขนาดลำตัวยาวจากปลายจะงอยปากถึงปลายขนหาง 127 เซนติเมตร ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว หางสีขาวมีแถบสีดำพาดขวาง และปลายปีกสีข

แมวออนซิลลา

รูปภาพ
  แมวออนซิลลา ชื่อไทย : แมวออนซิลลา ชื่อวิทยาศาสตร์ : Leopardus tigrinus              แมวพันธุ์ออนซิลลา   มีชื่อภาษาอังกฤษมากมายเช่น Tiger Cat, Little Spotted Cat, Tiger Ocelot, Tigrillo, Cunaguaro, Oncila ดังนั้นแมวนี้อาจถูกเรียกโดยหลายชื่อเช่นแมวเสือ , เสือแมว , แมวตัวเล็ก , แมวป่า Tiger King ที่นี่เราเรียกชื่อเดียวกันกับ Onzilla Onzilla เป็นแมวที่อยู่ในสกุล Leopardus เช่นเดียวกับ Ocelot และ Margay     ลักษณะทั่วไป              ออนซิลลาเป็นแมวที่มีขนาดเล็กที่สุดชนิดหนึ่งในทวีปอเมริกา มีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 2.5 กิโลกรัม ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมียเล็กน้อย ลวดลายโดยทั่วไปคล้ายมาร์เกย์ แต่จุดของออนซิลลาค่อนข้างจางกว่า ตัวบอบบางกว่า หางสั้นกว่า และขนไม่หนาแน่นเท่ามาร์เกย์ ออนซิลลามีขนสีน้ำตาลอ่อนจนถึงน้ำตาลแดงและเทา ลายจุดหรือเป็นดวงสีน้ำตาลเข้ม ใต้ลำตัวสีพื้นอ่อนมีจุดดำ ขาทั้งสี่มีลายจุดที่ด้านนอก หางมีลายปล้อง บริเวณโคนมีลายจุด ยาวประมาณร้อยละ 56 ของความยาวหัว-ลำตัว หัวแคบ มีเส้นขาวเหนือลูกตา ใบหูใหญ่ หลังใบหูสีดำ มีจุดสีขาวกลางใบหู ม่านตาสีเหลืองทองหรือน้ำตาลอ่อน ขนเรียบติดหนัง และไ

ปูราชินี

รูปภาพ
ปูราชินี   ปูราชินี ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ พ.ศ. 2535 มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Thaiphusa sirikit (Naiyanetr, 1992) และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Regal Grab ปัจจุบันปูราชินีจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่หายากในสภาพธรรมชาติ ในบรรดาปูน้ำจืดทุกชนิด “ปูราชินี” จัดว่าเป็นปูน้ำจืดประเภทปูป่าที่มีสีสันสวยงามที่สุด โดยจะมีสีสันมากถึง 3 สี คือ ขาเป็นสีแดง ตรงโคนขา ก้ามหนีบ และบริเวณขอบกระดองเป็นสีขาว ตรงกลางกระดองเป็นสีน้ำเงิน ดูแล้วคล้ายกับธงชาติไทย ชาวบ้านจึงมักจะเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “ปูสามสี” ถิ่นที่พบ              จากการสอบถามชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในตำบลห้วยเขย่ง อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ปูราชินีชอบอาศัยอยู่ตามริมลำห้วยและในพื้นที่ปู ได้แก่   บริเวณห้วยพัสดุกลาง (บ้านพัสดุกลาง) ห้วยปากคอก ท่ามะเดื่อ และปูราชินี (ออป.) โดยเฉพาะปูราชินีจะพบมากกว่าที่อื่น ปูราชินีที่พบมักจะมีความหลากหลายของสี คือ กลุ่มที่มีขาสีส้มสด และกลุ่มที่มีสีขาเป็นสีขาว โดยปกติปูราชินีจะออกจากรูมาเดินให้เห็นเต็มไปหมดใน

ปลากา

รูปภาพ
  ปลากา ปลากาดำ   เป็นชื่อของปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  Epalzeorhynchos chrysophekadion  อยู่ในวงศ์ปลาตะเพียน   ( Cyprinidae)  วงศ์ย่อย  Cyprininae - Labeonini  มีรูปร่างป้อม แต่หลังป่องออก ครีบหลังสูง ไม่มีก้านครีบแข็ง มีหนวดค่อนข้างยาว 2 คู่และมีติ่งเล็ก ๆ เป็นชายครุยอยู่รอบบริเวณริมฝีปาก เกล็ดเล็กมีสีแดงแซมอยู่ในแต่ละเกล็ด ครีบหางเว้าลึก ลำตัวสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม อันเป็นที่มาของชื่อ ในปลาวัยอ่อนบริเวณโคนหางมีจุดดำเด่น เมื่อโตขึ้นมาจะจางหาย มีขนาดโตเต็มที่ประมาณ 90   เซนติเมตร             ปลากาดำ (  Morulius chrysophekadion )  เป็นปลาพื้นเมืองของไทย พบตามแหล่งน้ำธรรมชาติในภาคกลาง มีชุกชุมในลุ่มน้ำแม่กลอง เป็นปลาน้ำจืด มีเกล็ดสีดำสนิท ลักษณะรูปร่างภายนอกคล้ายปลาตะเพียน แต่ปลากาดำตัวหนากว่าปลาตะเพียน ตัวโตมีขนาด  5-8  กก. เป็นปลาที่มีรสชาติดี นิยมบริโภคและเลี้ยงเป็นสวยงาม จึงได้มีการทดลองค้นคว้าในการผสมเทียมปลากาดำ เพื่อเพิ่มปริมาณพันธุ์ปลาในแหล่งน้ำธรรมชาติ และส่งเสริมให้มีการเลี้ยง ปัจจุบันการผสมเทียมปลากาดำประสบผลสำเร็จ ทำให้มีพันธุ์ปลาปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติ และส่งขา

นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า

รูปภาพ
  นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า ชื่อสามัญ  : Blue-winged Leafbird ชื่อวิทยาศาสตร์  : Chloropsis cochinchinensis นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า   เป็นชนิดพันธุ์หนึ่งของสกุลนกเขียวก้านตอง ลักษณะพิเศษคือมีแถบสีฟ้าที่ขอบปีกด้านนอก ยาวตั้งแต่หัวปีกถึงปลายปีก โดยความเข้มอ่อนขึ้นอยู่กับอายุและชนิดพันธุ์ย่อยของนก ชนิดพันธุ์นี้พบครั้งแรกในเขตโคชินไชน่า (ปัจจุบันคือเวียดนามใต้) จึงนำชื่อสถานที่พบมาตั้งเป็นชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  cochinchinensis ลักษณะทางกายภาพ                นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้ามีความยาวจากปลายปากถึงปลายหาง 19 เซนติเมตรลำตัวอยู่ในแนวนอน บริเวณตะโพกมีขนยาวและฟูเช่นเดียวกับนกปรอด ปากยาว เรียวโค้ง และมีความยาวพอ ๆ กับหัว เหมาะที่จะใช้สอดเข้าไปในกรวยดอกไม้เพื่อดูดกินน้ำหวาน ตอนปลายปากงุ้มลงเล็กน้อย รูจมูกเป็นรูปไข่ ขนที่หน้าผากยาวลงมาถึงรูจมูก ที่มุมปากมีขนเส้นเล็ก ๆ แข็ง ๆ สั้น ๆ มองเห็นไม่เด่นชัดนัก ปีกมนกลม ขนปลายปีกมี 10 เส้น ขนหางมี 12 เส้น หางยาวตัดตรง ขาและนิ้วเท้าสีเทาอมฟ้า ขาท่อนล่างสั้นมาก นิ้วเท้าเล็กยื่นไปข้างหน้า 3 นิ้วยื่นไปข้างหลัง 1 นิ้ว ส่วนบนของลำตัว

นกกระเต็นน้อยธรรมดา

รูปภาพ
  นกกระเต็นน้อยธรรมดา นกกระเต็นน้อยธรรมดา ( common kingfisher ) เป็นนกกระเต็น 1 ใน 15 ชนิดที่พบในประเทศไทย และมีขนาดที่ค่อนข้างเล็กน่ารัก ความยาวจากปลายปากจรดปลายหาง ประมาณ 16-18 เซ็นติเมตร ในขณะที่ชนิดที่ใหญ่ที่สุดอย่าง กระเต็นขาวดำใหญ่ หรือ กระเต็นใหญ่ธรรมดา จะมีขนาดตัวได้ถึงประมาณ 41 เซนติเมตร นกกระเต็นน้อยธรรมดาตัวผู้ และตัวเมีย จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน จะแตกต่างกันที่ตัวเมียมีโคนปากล่าง และทั้งปากล่างเป็นสีส้มแดงขณะที่ตัว ผู้มีปากสีดำสนิท นกกระเต็นน้อยธรรมดามีหัวและหน้าผากสีฟ้าอมเขียว สดใส มีจุดสีฟ้าอ่อนเล็ก ๆ เป็นแนวขวางถี่ ๆ หลายแนว คอสีขาว อกสีน้ำตาลแดง แก้ม และขนคลุมหูสีน้ำตาลแดง ปีกสีฟ้าอมเขียว มีจุดสีฟ้าอ่อนตรงแนวปีก หลังและตะโพกสีฟ้าสดใสมาก ๆ ขาและนิ้วเท้าเล็ก ๆ สีแดงสดใส นกวัยเด็ก มีอกสีหม่นออกขาวๆเทาๆ มีปากล่างสีแดง ขาและเท้าสีดำ และจะค่อยๆแดงขึ้นเรื่อย ๆ  พฤติกรรมทั่วไป              มักพบนกชนิดนี้บริเวณที่มีแหล่งน้ำทั่วไป มักจะเห็นเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ หรือตอไม้ใกล้ริมฝั่งน้ำเพื่อซุ่มดักเหยื่อที่โผล่ขึ้นมาบนผิวน้ำ เช่น ปลาขนาดเล็ก และบินลงไปคาบเหยื่อในน้ำแล้วกลับขึ้นมาด้ว

แมงปอ

รูปภาพ
  แมลงปอ ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Agriocnemis pygmaea Rambur Agriocnemis  femine femine (Brauer) วงศ์ : Agrionidae อันดับ : Odonata     แมลงปอเข็ม  Agriocnemis  เป็นแมลงปอเข็มที่ตัวเต็มวัยมีปล้องท้องยาวประมาณ 1.6-1.8 เซนติเมตร ส่วนหัว อก และท้องมีลวดลายสีเขียวเหลืองสลับดำ ส่วนท้องรูปร่างเรียวยาว ตัวผู้มักมีสีสดใสกว่าตัวเมีย แมลงปอเข็ม  A. pygmaea Rambur ส่วนปลายของปล้องท้องมีสีส้ม ในขณะที่  A. femine femine (Brauer) ตัวผู้ปล้องท้องส่วนปลายและส่วนอกด้านข้างมีสีน้ำเงินแกมเขียว   ตัวเมียมีสีเขียว แมลงปอเข็มเป็นตัวห้ำกินผีเสื้อหนอนห่อใบข้าว และแมลงศัตรูข้าวอื่น พบทั่วไปในนาข้าว ตั้งแต่เริ่มปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยว ตามปรกติจะบินอยู่ตามบริเวณส่วนกลางกอข้าวเพื่อค้นหาเหยื่อ ขณะผสมพันธุ์สามารถบินเคลื่อนย้ายหนีศัตรูได้ อดีตกาลของแมลงปอ             แมลงปอเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่เกิดขึ้นมาบนโลกก่อนหน้าไดโนเสาร์ และก่อนยุคของผีเสื้อ ฟอสซิลของแมลงปอที่เก่าแก่ที่ขุดพบนั้น แสดงว่ามันเคยอาศัยอยู่ในยุค Carboniferous หรือประมาณ 300 ล้านปีมาแล้ว บรรพบุรุษของแมลงปอมีประวัติศาสตร์อันยาวนานควบคู่มากับบร